Q : ก้างปลาติดคอ ทำอย่างไร?
A : กลั้วน้ำที่คอแล้วบ้วนออกหรืออ้าปากส่องไฟดู หากก้างชัดอาจลองใช้อุปกรณ์คีบแต่ระวังอุปกรณ์หล่นในช่องคอหรือปักลึกขึ้น ถ้าก้างปลาไม่ออกควรพบแพทย์ การปั้นข้าวทับอาจทำให้ปักลึกกว่าเดิมได้
ข้อมูลจาก...
อ. พญ.นวรัตน์ อภิรักษ์กิตติกุล
ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา
วันจันทร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561
วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2561
แมลงเข้าหู ทำอย่างไร
แมลงเข้าหู ทำอย่างไร?
ขอบพระคุณข้อมูลจาก RAMA CHANNEL
Q : แมลงเข้าหู ทำอย่างไร?
A : ถ้าแมลงตาย และเห็นชัดใช้อุปกรณ์คีบได้ หากอยู่ลึกไม่เห็นชัดอย่าคีบหรือปั่น เพราะอาจดันให้ลึกกว่าเดิม และอันตรายต่อแก้วหูได้ ให้ตะแคงหูข้างที่แมลงเข้า ขยับศีรษะเล็กน้อยให้แมลงออก ถ้าไม่ออกอาจหยอดน้ำมันพืชในรูหูเพื่อให้แมลงลอยแล้วตะแคงออก
ถ้าแมลงมีชีวิตให้หยอดน้ำมันพืชทีละน้อย แมลงอาจตกใจคลานออกมาเองหรือหยอดเต็มหูก็ทำให้แมลงนิ่งแล้วเอียงให้แมลงออกมาได้ แต่ถ้ามีปัญหาแก้วหูทะลุไม่ควรหยอดน้ำ และหากแมลงออกไม่หมดหรือมีหูอื้อ ปวด ได้ยินลดลง ควรพบแพทย์
ข้อมูลจาก...
อ. พญ.นวรัตน์ อภิรักษ์กิตติกุล
ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา
ขอบพระคุณข้อมูลจาก RAMA CHANNEL
Q : แมลงเข้าหู ทำอย่างไร?
A : ถ้าแมลงตาย และเห็นชัดใช้อุปกรณ์คีบได้ หากอยู่ลึกไม่เห็นชัดอย่าคีบหรือปั่น เพราะอาจดันให้ลึกกว่าเดิม และอันตรายต่อแก้วหูได้ ให้ตะแคงหูข้างที่แมลงเข้า ขยับศีรษะเล็กน้อยให้แมลงออก ถ้าไม่ออกอาจหยอดน้ำมันพืชในรูหูเพื่อให้แมลงลอยแล้วตะแคงออก
ถ้าแมลงมีชีวิตให้หยอดน้ำมันพืชทีละน้อย แมลงอาจตกใจคลานออกมาเองหรือหยอดเต็มหูก็ทำให้แมลงนิ่งแล้วเอียงให้แมลงออกมาได้ แต่ถ้ามีปัญหาแก้วหูทะลุไม่ควรหยอดน้ำ และหากแมลงออกไม่หมดหรือมีหูอื้อ ปวด ได้ยินลดลง ควรพบแพทย์
ข้อมูลจาก...
อ. พญ.นวรัตน์ อภิรักษ์กิตติกุล
ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา
วันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2561
วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2561
วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2561
วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2561
วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2561
รูมาตอยด์ Vs ข้อเสื่อม
ขอบพระคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลเวชธานี
ผู้สูงอายุหลายท่านที่มีปัญหาเรื่องปวดข้อนิ้วมือ ข้อเข่าบ่อยๆ อาจจะสงสัยว่าเกิดจากโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว สาเหตุของอาการปวดข้อนิ้วมือและข้อเข่าที่พบได้บ่อยกว่า คือโรคข้อเสื่อม ซึ่งเกิดจากความเสื่อมของกระดูกผิวข้อ และความเสื่อมนั้นจะเป็นรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุที่มากขึ้น
▪️ สำหรับโรคข้อเข่าเสื่อม ผู้ป่วยอาจจะมีอาการดังนี้
- ปวดที่บริเวณข้อเข่า โดยเฉพาะขณะที่เดินขึ้น-ลงบันได หรือนั่งงอเข่า เช่น การนั่งพับเพียบหรือนั่งขัดสมาธิ การเดินเป็นระยะทางไกลอาจจะกระตุ้นให้อาการปวดรุนแรงขึ้นได้
- อาการข้อฝืด ตึง ขัด หรือรู้สึกมีเสียงภายในข้อเข่า
- รู้สึกเข่าไม่ค่อยมีแรง
สำหรับโรคข้อนิ้วมือเสื่อม พบได้บ่อยที่บริเวณข้อกลาง และข้อปลายนิ้วมือ มักมีอาการดังนี้
- ปวดเล็กน้อย เมื่อใช้งานจะปวดมากขึ้นได้
- รู้สึกข้อฝืด ตัง ขัดเวลาตื่นนอนตอนเช้า แต่อาการจะเป็นไม่นาน เมื่อขยับมืออาการจะค่อยๆ ดีขึ้น
- ขนาดข้อใหญ่ขึ้น ร่วมกับข้อผิดรูป ซึ่งจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป ใช้เวลาหลายปี
- ผู้ป่วยบางราย อาจจะมีข้ออักเสบบวมแดงขึ้นมาเป็นครั้งคราวได้
แต่โรครูมาตอยด์ สามารถเกิดได้จากปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้องและทำให้เกิดโรค เช่น กรรมพันธุ์ การติดเชื้อ การสูบบุหรี่ และปัจจัยสภาพแวดล้อมบางอย่าง โดยมีอาการดังนี้
- ข้ออักเสบ ปวด บวม นานกว่า 6 สัปดาห์ โดยเฉพาะบริเวณข้อนิ้วมือ และข้อมือ แต่ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจจะมีข้ออักเสบได้ทุกข้อทั่วทั้งร่างกาย
- ข้อที่มีอาการอักเสบจะมีลักษณะกดเจ็บ บวมแดง อุ่น หรือร้อน
- เมื่อมีการใช้งานบริเวณมือและข้อมือจะมีอาการปวดมากขึ้น
- เวลาตื่นนอนตอนเช้ามักจะมีอาการฝืด ตึง แข็ง ขยับได้ลำบาก ต้องใช้เวลาสักพักถึงจะขยับได้ดีขึ้น
- บางรายอาจจะมีไข้ต่ำ ๆ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร และน้ำหนักลดร่วมด้วย
▪️นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมีอาการในระบบอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ภาวะซีด ตาอักเสบ ปอดอักเสบมีพังผืด เส้นเลือดฝอยอักเสบ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดข้อผิดรูป พิการอย่างถาวรได้
พญ. บุษกร ดาราวรรณกุล
อายุรแพทย์โรคข้อและรูมาติสซั่ม
ผู้สูงอายุหลายท่านที่มีปัญหาเรื่องปวดข้อนิ้วมือ ข้อเข่าบ่อยๆ อาจจะสงสัยว่าเกิดจากโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว สาเหตุของอาการปวดข้อนิ้วมือและข้อเข่าที่พบได้บ่อยกว่า คือโรคข้อเสื่อม ซึ่งเกิดจากความเสื่อมของกระดูกผิวข้อ และความเสื่อมนั้นจะเป็นรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุที่มากขึ้น
▪️ สำหรับโรคข้อเข่าเสื่อม ผู้ป่วยอาจจะมีอาการดังนี้
- ปวดที่บริเวณข้อเข่า โดยเฉพาะขณะที่เดินขึ้น-ลงบันได หรือนั่งงอเข่า เช่น การนั่งพับเพียบหรือนั่งขัดสมาธิ การเดินเป็นระยะทางไกลอาจจะกระตุ้นให้อาการปวดรุนแรงขึ้นได้
- อาการข้อฝืด ตึง ขัด หรือรู้สึกมีเสียงภายในข้อเข่า
- รู้สึกเข่าไม่ค่อยมีแรง
สำหรับโรคข้อนิ้วมือเสื่อม พบได้บ่อยที่บริเวณข้อกลาง และข้อปลายนิ้วมือ มักมีอาการดังนี้
- ปวดเล็กน้อย เมื่อใช้งานจะปวดมากขึ้นได้
- รู้สึกข้อฝืด ตัง ขัดเวลาตื่นนอนตอนเช้า แต่อาการจะเป็นไม่นาน เมื่อขยับมืออาการจะค่อยๆ ดีขึ้น
- ขนาดข้อใหญ่ขึ้น ร่วมกับข้อผิดรูป ซึ่งจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป ใช้เวลาหลายปี
- ผู้ป่วยบางราย อาจจะมีข้ออักเสบบวมแดงขึ้นมาเป็นครั้งคราวได้
แต่โรครูมาตอยด์ สามารถเกิดได้จากปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้องและทำให้เกิดโรค เช่น กรรมพันธุ์ การติดเชื้อ การสูบบุหรี่ และปัจจัยสภาพแวดล้อมบางอย่าง โดยมีอาการดังนี้
- ข้ออักเสบ ปวด บวม นานกว่า 6 สัปดาห์ โดยเฉพาะบริเวณข้อนิ้วมือ และข้อมือ แต่ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจจะมีข้ออักเสบได้ทุกข้อทั่วทั้งร่างกาย
- ข้อที่มีอาการอักเสบจะมีลักษณะกดเจ็บ บวมแดง อุ่น หรือร้อน
- เมื่อมีการใช้งานบริเวณมือและข้อมือจะมีอาการปวดมากขึ้น
- เวลาตื่นนอนตอนเช้ามักจะมีอาการฝืด ตึง แข็ง ขยับได้ลำบาก ต้องใช้เวลาสักพักถึงจะขยับได้ดีขึ้น
- บางรายอาจจะมีไข้ต่ำ ๆ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร และน้ำหนักลดร่วมด้วย
▪️นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมีอาการในระบบอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ภาวะซีด ตาอักเสบ ปอดอักเสบมีพังผืด เส้นเลือดฝอยอักเสบ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดข้อผิดรูป พิการอย่างถาวรได้
พญ. บุษกร ดาราวรรณกุล
อายุรแพทย์โรคข้อและรูมาติสซั่ม
วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2561
ห่างไกลริดสีดวงด้วยอาหาร 7 ประเภท
ขอบพระคุณข้อมูล จากโรงพยาบาลเวชธานี
ริดสีดวงทวารเป็นโรคที่พบได้บ่อยและเกิดได้จากหลายปัจจัยด้วยกัน อาการแทรกซ้อนจากโรคอื่น ๆ หรือแม้แต่พฤติกรรมทำร้ายสุขภาพ การกินอาหารไม่ครบหลักโภชนาการที่ดี ขาดไฟเบอร์จนก่อให้เกิดอาการท้องผูก มาดูเมนูอาหารสำหรับผู้เป็น “ริดสีดวงทวาร”
▪️ อาหารประเภทต้ม
แกงจืดแตงกวายัดไส้ ,แกงจืดมะระยัดไส้หมู ,แกงจืดผักรวมมังสวิรัติ ,ต้มจับฉ่าย ,แกงเลียงผักรวม
▪️ อาหารประเภทผัด
ผัดผักรวมทะเล ,ฟักทองผัดไข่ ,ผัดเห็ดสามสหาย ,กะหล่ำปลีผัดไข่ ,ต้นอ่อนทานตะวันผัดน้ำมันหอย ,ผัดคะน้าหมูสับ
▪️ อาหารประเภทตุ๋น/นึ่ง
ปลาทับทิมนึ่งใส่ผักกาดขาว ,เต้าหู้นึ่งซีอิ๊วหมู ,ไข่ตุ๋นทรงเครื่อง ,ปลากระพงนึ่ง
▪️ อาหารประเภทจานเดียว
สลัดผลไม้รวม ,ข้าวต้มปลาทรงเครื่อง ,ข้าวต้มข้าวกล้องทะเลใส่ไข่ ,แซนวิชทูน่าโฮลวีทไข่ต้ม ,สุกี้รวมมิตร(ไม่ปรุงรสจัด),สลัดธัญพืช
▪️ อาหารประเภทซุป
ซุปผักโขม,ซุปผักรวม,ซุปข้าวโพด,ซุปฟักทอง
▪️ประเภทเครื่องดื่ม
น้ำผลไม้รวมปั่นไม่แยกกาก ,น้ำแครอทปั่น ,น้ำเสาวรสปั่น ,เครื่องดื่มธัญพืช
▪️ ประเภทของว่างทานเล่น
แซนวิชทูน่าโฮลวีท ,โยเกิร์ตใส่ผลไม้รวม
อย่างไรก็ตามผู้เป็นริดสีดวงทวารสามารถปรึกษาแพทย์เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เน้นผักและผลไม้ให้มากขึ้น ดื่มน้ำมากๆ หลีกเลี่ยงอุปนิสัยเบ่งอุจจาระเวลาขับถ่าย ไม่ใช้ยาสวนอุจจาระพร่ำเพรื่อ หากหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านี้ ผู้ป่วยจะมีโอกาสห่างไกลจากโรคริดสีดวงทวารหนัก
นพ.ปิยะ โตเต็มโชคชัยการ
ศัลยแพทย์ทั่วไป
ริดสีดวงทวารเป็นโรคที่พบได้บ่อยและเกิดได้จากหลายปัจจัยด้วยกัน อาการแทรกซ้อนจากโรคอื่น ๆ หรือแม้แต่พฤติกรรมทำร้ายสุขภาพ การกินอาหารไม่ครบหลักโภชนาการที่ดี ขาดไฟเบอร์จนก่อให้เกิดอาการท้องผูก มาดูเมนูอาหารสำหรับผู้เป็น “ริดสีดวงทวาร”
▪️ อาหารประเภทต้ม
แกงจืดแตงกวายัดไส้ ,แกงจืดมะระยัดไส้หมู ,แกงจืดผักรวมมังสวิรัติ ,ต้มจับฉ่าย ,แกงเลียงผักรวม
▪️ อาหารประเภทผัด
ผัดผักรวมทะเล ,ฟักทองผัดไข่ ,ผัดเห็ดสามสหาย ,กะหล่ำปลีผัดไข่ ,ต้นอ่อนทานตะวันผัดน้ำมันหอย ,ผัดคะน้าหมูสับ
▪️ อาหารประเภทตุ๋น/นึ่ง
ปลาทับทิมนึ่งใส่ผักกาดขาว ,เต้าหู้นึ่งซีอิ๊วหมู ,ไข่ตุ๋นทรงเครื่อง ,ปลากระพงนึ่ง
▪️ อาหารประเภทจานเดียว
สลัดผลไม้รวม ,ข้าวต้มปลาทรงเครื่อง ,ข้าวต้มข้าวกล้องทะเลใส่ไข่ ,แซนวิชทูน่าโฮลวีทไข่ต้ม ,สุกี้รวมมิตร(ไม่ปรุงรสจัด),สลัดธัญพืช
▪️ อาหารประเภทซุป
ซุปผักโขม,ซุปผักรวม,ซุปข้าวโพด,ซุปฟักทอง
▪️ประเภทเครื่องดื่ม
น้ำผลไม้รวมปั่นไม่แยกกาก ,น้ำแครอทปั่น ,น้ำเสาวรสปั่น ,เครื่องดื่มธัญพืช
▪️ ประเภทของว่างทานเล่น
แซนวิชทูน่าโฮลวีท ,โยเกิร์ตใส่ผลไม้รวม
อย่างไรก็ตามผู้เป็นริดสีดวงทวารสามารถปรึกษาแพทย์เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เน้นผักและผลไม้ให้มากขึ้น ดื่มน้ำมากๆ หลีกเลี่ยงอุปนิสัยเบ่งอุจจาระเวลาขับถ่าย ไม่ใช้ยาสวนอุจจาระพร่ำเพรื่อ หากหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านี้ ผู้ป่วยจะมีโอกาสห่างไกลจากโรคริดสีดวงทวารหนัก
นพ.ปิยะ โตเต็มโชคชัยการ
ศัลยแพทย์ทั่วไป
วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2561
วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2561
วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2561
วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2561
วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2561
วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2561
เป็นกระดูกพรุนแล้วออกกำลังอย่างไร ให้อยู่ยืน
ที่มา:
- คำแนะนำเวชปฏิบัติการดูแลรักษาโรคกระดูกพรุน มูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทย, 2560
- Sinaki M. Osteoporosis. In: Braddom RL, ed. Physical medicine and rehabilitation. 4th ed. Elsevier; Philadelphia,2011:913-33.
.
เป็นกระดูกพรุนแล้ว ยังออกกำลังได้ด้วย??
คำตอบก็คือ ได้ค่ะ แต่อาจจะออกกำลังหนักๆ เหมือนเมื่อกระดูกยังแข็งแรงไม่ได้
แต่การออกกำลังเมื่อเป็นกระดูกพรุนก็ยังมีความจำเป็น และช่วยป้องกันกระดูกหักจากกระดูกพรุนได้
.
จุดประสงค์หลัก ในการออกกำลังเมื่อเป็นกระดูกพรุน
- เพื่อลด หรือชะลอการสูญเสียมวลกระดูก
- เพิ่มความแข็งแรงให้มวลกล้ามเนื้อ ป้องกันล้มและคงความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง
.
การออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุน
มีดังนี้
.
1. ออกกำลังกายที่มีการลงน้ำหนักน้อย เช่น การเดินวันละ 40 นาที อย่างน้อย 3 วัน ต่อสัปดาห์หรือวันละ 30 นาทีทำทุกวัน เต้นลีลาศ รำไท้ฉี รำพลอง เป็นต้น
2. ออกกำลังเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อ ยกตุ้มน้ำหนัก 3 วันต่อสัปดาห์
3. ออกกำลังกล้ามเนื้อหลัง (Back Extensor) จะลดการเกิดกระดูกสันหลังยุบได้
4. ฝึกการทรงตัวและการออกกำลังกายที่ช่วยปรับท่าทาง เพื่อป้องกันล้มเช่น ยืนย่ำเท้า เดินต่อเท้า ทำท่าละ 10 ครั้ง ทำ 2 รอบต่อวัน อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ โดยต้องระมัดระวังการหกล้มด้วย โดยอาจมีราวเกาะยึดในระหว่างการฝึก เป็นต้น
.
สำหรับข้อควรระวังก็คือเมื่อเป็นกระดูกพรุนแล้ว กระดูกของเราจะเปราะบางกว่าปกติ
จึงควรหลีกเลี่ยงการก้มหลังและการบิดหมุนตัวที่มากเกินไป ทั้งในกิจวัตรประจำวันและในการออกกำลังกาย รวมถึงไม่ควรและออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกสูงค่ะ
.
- คำแนะนำเวชปฏิบัติการดูแลรักษาโรคกระดูกพรุน มูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทย, 2560
- Sinaki M. Osteoporosis. In: Braddom RL, ed. Physical medicine and rehabilitation. 4th ed. Elsevier; Philadelphia,2011:913-33.
.
เป็นกระดูกพรุนแล้ว ยังออกกำลังได้ด้วย??
คำตอบก็คือ ได้ค่ะ แต่อาจจะออกกำลังหนักๆ เหมือนเมื่อกระดูกยังแข็งแรงไม่ได้
แต่การออกกำลังเมื่อเป็นกระดูกพรุนก็ยังมีความจำเป็น และช่วยป้องกันกระดูกหักจากกระดูกพรุนได้
.
จุดประสงค์หลัก ในการออกกำลังเมื่อเป็นกระดูกพรุน
- เพื่อลด หรือชะลอการสูญเสียมวลกระดูก
- เพิ่มความแข็งแรงให้มวลกล้ามเนื้อ ป้องกันล้มและคงความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง
.
การออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุน
มีดังนี้
.
1. ออกกำลังกายที่มีการลงน้ำหนักน้อย เช่น การเดินวันละ 40 นาที อย่างน้อย 3 วัน ต่อสัปดาห์หรือวันละ 30 นาทีทำทุกวัน เต้นลีลาศ รำไท้ฉี รำพลอง เป็นต้น
2. ออกกำลังเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อ ยกตุ้มน้ำหนัก 3 วันต่อสัปดาห์
3. ออกกำลังกล้ามเนื้อหลัง (Back Extensor) จะลดการเกิดกระดูกสันหลังยุบได้
4. ฝึกการทรงตัวและการออกกำลังกายที่ช่วยปรับท่าทาง เพื่อป้องกันล้มเช่น ยืนย่ำเท้า เดินต่อเท้า ทำท่าละ 10 ครั้ง ทำ 2 รอบต่อวัน อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ โดยต้องระมัดระวังการหกล้มด้วย โดยอาจมีราวเกาะยึดในระหว่างการฝึก เป็นต้น
.
สำหรับข้อควรระวังก็คือเมื่อเป็นกระดูกพรุนแล้ว กระดูกของเราจะเปราะบางกว่าปกติ
จึงควรหลีกเลี่ยงการก้มหลังและการบิดหมุนตัวที่มากเกินไป ทั้งในกิจวัตรประจำวันและในการออกกำลังกาย รวมถึงไม่ควรและออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกสูงค่ะ
.
วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2561
วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2561
วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2561
5 ข้อห้ามทำ เพื่อป้องกันและบำบัดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
ขอบพระคุณ นพ.บุญชัย อิศราพิสิษฐ์ (BEAN HEALTHY)
วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2561
วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2561
คาถา 12 กลุ่ม เสี่ยงไตเสื่อม (กินตามหมอ)
ขอบพระคุณรายการ กินตามหมอ นพ.บุญชัย อิศราพิสิษฐ์
หลายๆ ท่านคงทราบถึงอันตรายที่เกิดขึ้นจากภาวะไตเสื่อม แต่หลายท่านอาจไม่รู้ตัวว่ากำลังมีภาวะเสี่ยงที่อาจจะเกิดภาวะไตเสื่อมหรือเผชิญกับโรคไตในอนาคต มาตรวจสอบกันดีกว่าว่าท่านอยู่ใน 12 กลุ่มที่เสี่ยงกับการเกิดภาวะไตเสื่อมหรือไม่
หลายๆ ท่านคงทราบถึงอันตรายที่เกิดขึ้นจากภาวะไตเสื่อม แต่หลายท่านอาจไม่รู้ตัวว่ากำลังมีภาวะเสี่ยงที่อาจจะเกิดภาวะไตเสื่อมหรือเผชิญกับโรคไตในอนาคต มาตรวจสอบกันดีกว่าว่าท่านอยู่ใน 12 กลุ่มที่เสี่ยงกับการเกิดภาวะไตเสื่อมหรือไม่
วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2561
วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2561
โครงการตรวจวัดมวลกล้ามเนื้อในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป
(ประกาศ)โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า มี
โครงการตรวจวัดมวลกล้ามเนื้อในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป เมื่อเทียบกับ
ภาวะการทำงานของไต
. โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ(ปกติค่าตรวจ 2,500-3,000 บาท) มีเงื่อนไขคือ
- อายุ มากกว่า 60 ปี
- ไม่เป็นโรคไต
- ไม่เป็นโรคเบาหวาน
ท่านที่สนใจลงชื่อ อายุ และโทร.
ภายในกลางธันวาคม 2561
ขั้นตอนการตรวจ
** ไม่ต้องงดน้ำและงดอาหาร ก่อนมาตรวจ
1. ทำบัตร รพ. พระมงกุฎเกล้า (กรณียังไม่เคยมีบัตรประจำตัวผู้ป่วยมาก่อน)
ที่ ตึกเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 1
2. ตรวจมวลกระดูกและกล้ามเนื้อ ที่ ชั้น 1 ตึกเวชศาสตร์นิวเคลียร์ แจ้งเจ้า
หน้าที่ว่า เป็นโครงการวิจัยของหมอพิชา
3. รับใบสำหรับเจาะเลือด เพื่อไปเจาะเลือดที่ ชั้น 2 ตึกเฉลิมพระเกียรติ
4. เจาะเลือดเสร็จ สามารถกลับได้เลย
- ผลการตรวจ จะโทรไปแจ้งเป็นรายบุคคล ตามเบอร์โทรที่ให้ไว้
- หากมีปัญหา หรือต้องการสอบถามรายละเอียด หรือจะไปตรวจวันไหน
โปรดติดต่อ
พญ. พิชา ไชยเทพ
กองอายุรกรรม
ได้ตลอด 24 ชั่วโมงค่ะ
โทร. 081-884-2549
โครงการตรวจวัดมวลกล้ามเนื้อในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป เมื่อเทียบกับ
ภาวะการทำงานของไต
. โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ(ปกติค่าตรวจ 2,500-3,000 บาท) มีเงื่อนไขคือ
- อายุ มากกว่า 60 ปี
- ไม่เป็นโรคไต
- ไม่เป็นโรคเบาหวาน
ท่านที่สนใจลงชื่อ อายุ และโทร.
ภายในกลางธันวาคม 2561
ขั้นตอนการตรวจ
** ไม่ต้องงดน้ำและงดอาหาร ก่อนมาตรวจ
1. ทำบัตร รพ. พระมงกุฎเกล้า (กรณียังไม่เคยมีบัตรประจำตัวผู้ป่วยมาก่อน)
ที่ ตึกเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 1
2. ตรวจมวลกระดูกและกล้ามเนื้อ ที่ ชั้น 1 ตึกเวชศาสตร์นิวเคลียร์ แจ้งเจ้า
หน้าที่ว่า เป็นโครงการวิจัยของหมอพิชา
3. รับใบสำหรับเจาะเลือด เพื่อไปเจาะเลือดที่ ชั้น 2 ตึกเฉลิมพระเกียรติ
4. เจาะเลือดเสร็จ สามารถกลับได้เลย
- ผลการตรวจ จะโทรไปแจ้งเป็นรายบุคคล ตามเบอร์โทรที่ให้ไว้
- หากมีปัญหา หรือต้องการสอบถามรายละเอียด หรือจะไปตรวจวันไหน
โปรดติดต่อ
พญ. พิชา ไชยเทพ
กองอายุรกรรม
ได้ตลอด 24 ชั่วโมงค่ะ
โทร. 081-884-2549
วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2561
วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2561
วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2561
วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2561
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
กระดูกทับเส้น......ป้องกันได้!!
กระดูกทับเส้น......ป้องกันได้!! ขอบพระคุณเจ้าของข้อมูล ใครไม่เคยปวดหลังร้าวชาลงขา เดินไม่ได้ ก้มไม่ได้ ต้องไม่เคยลิ้มรสความทรมานจากโรคก...
-
เลือกกินตามสัญญาณไฟ ขอบพระคุณข้อมูล จาก สสส #กินตามสัญญาณไฟ . ปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้ร่างกายแข็งแรง คือ การกิน แต่ถ้าเรามีพฤติก...
-
การดูแลรักษาอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายที่น่าสนใจ ขอบพระคุณเจ้าของภาพ
-
อาการผิดปกติหลังบาดเจ็บที่ศีรษะที่ต้องกลับไปพบแพทย์ . #บาดเจ็บศีรษะ หมายถึง ผู้บาดเจ็บมีลักษณะ ดังต่อไปนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมากกว่า เช...