ขอบพระคุณเจ้าของข้อมูล
เชื่อไหมว่าหากนำ "เส้นเลือดแดง" ในตัวคนมาต่อกัน จะได้ความยาวมากกว่าระยะทางรอบโลกเสียอีก...
ตลอดความยาวอันน่าทึ่ง ภายในผนังเส้นเลือดแดงคือกล้ามเนื้อเล็กๆ ที่ไม่เคยหยุดส่งเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ตราบใดที่เส้นเลือดแดงยังทำงานเป็นปกติ เจ้าของร่างกายก็จะยังไม่รู้สึกผิดแปลกอะไร ต้องให้เกิดปัญหาการตีบตันขึ้นภายในหลอดเลือดเสียก่อน เราจึงจะรู้สึกถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับอวัยวะที่ไม่ได้รับเลือดไปเลี้ยง"เส้นเลือดแดงที่ขา" เป็นอีกจุดที่เกิดการตีบตันได้บ่อย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนที่เป็นโรคหัวใจ เบาหวาน มีความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หรือเคยสูบบุรี่จัด รวมทั้งคนอ้วน จะยิ่งมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดแดงที่ขาตีบตันได้ง่าย
แค่ปวดขา หรือเป็นโรคหลอดเลือด
อาการที่เริ่มบอกว่าเส้นเลือดแดงอาจมีการอุดตัน ได้แก่ อาการปวดน่อง ปวดเท้า หรือปวดขา หลังจากเดินหรือออกกำลังกาย และจะดีขึ้นเมื่อได้พัก อาการเช่นนี้เรียกว่า Claudication ซึ่งเป็นการปวดเพราะกล้ามเนื้อขาดเลือด แต่เนื่องจากเป็นอาการปวดที่เมื่อได้พักแล้วหาย จึงทำให้คนไข้คิดว่าตัว
เองไม่ได้เป็นอะไรมาก และมักแก้ไขด้วยการหายามาถูนวด ยิ่งถ้าหากไปหาหมอ แล้วคุณหมอไม่ได้ตรวจอย่างละเอียดหรือไม่ได้คลำชีพจรที่เท้า ก็อาจไม่ทราบว่าโรคที่เกิดคือ "โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย" (Peripheral artery disease: PAD) แต่อาจวินิจฉัยว่าเป็นโรคข้อ หรือโรคปวดเมื่อยตามประสาคนแก่ก็เป็นได้
อาการปวดขาจากโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายนี้ หากปล่อยทิ้งไว้จนเส้นเลือดตีบตันมากขึ้นอาจทำให้เท้าชา เย็น ยิ่งถ้าผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานอยู่แล้ว ก็อาจเกิดแผลที่รักษาไม่หาย ถ้าเป็นมากๆ อาจถึง
ขั้นมีลิ่มเลือดมาอุดตันจนทำให้เกิดอาการขาดเลือดมาเลี้ยงฉับพลัน หากแก้ไขไม่ทันจะทำให้กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อที่เท้าข้างนั้นตาย จนนำเป็นต้องตัดเนื้อเยื่อ ตัดนิ้ว หรือตัดเท้าตัดขาทีเดียว เนื่องจากถ้าทิ้งไว้พิษจากเนื้อตายจะซึมเข้ากระแสเลือด ลามไปทั่วร่างกายได้ หลอดเลือดอุดตันป้องกันได้ การป้องกันอาการหลอดเลือดแดงอุดตันลุกลามเริ่มต้นด้วยการตรวจร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณมีอาการที่น่าสงสัย เช่น ปวดเท้า หรือปวดน่องจากการเดินมากๆ หรือมีความเสี่ยงจากอาการ 4-5 อย่างที่ได้กล่าวมาแล้ว ก็ควรเข้ารับการตรวจด้วยเครื่องมือวัดความแข็งตัวของหลอดเลือดแดงที่เรียกว่า ABI
การตรวจพบแต่เนิ่นๆ จะทำให้คุณสามารถดูแลตัวเองอย่างถูกต้องเพื่อป้องกันไม่ได้เป็นหนักขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว การดูแลตัวเองไม่ได้ยุ่งยากอะไร เบื้องต้นก็คือการออกกำลังกายกล้ามเนื้อขาเป็นประจำ เช่น เดินเร็วๆ หรือวิ่งเหยาะๆ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที ส่วนผู้มีน้ำหนักเกินควรลดน้ำหนัก ควบคุมอาหาร รวมทั้งดูแลโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดัน หรือไขมันสูง ควบคู่กันไปด้วย เพียงเท่านี้ก็พอจะช่วยป้องกันไม่ให้อาการเส้นเลือดตีบรุนแรงขึ้นได้ที่สำคัญ อย่าลืมว่า หากคุณมีอาการชวนสงสัยว่าจะเกิดจากหลอดเลือดขอดหรือตีบ ต้องปรึกษาแพทย์
ขอขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์หลอดเลือด รพ.หัวใจกรุงเทพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น