เป็นหอบหืด “ล่ำได้” ไม่แปลก
ขอบพระคุณเจ้าของข้อมูล
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหอบหืดและการเล่นกีฬา
หมอแอนพบว่า ถ้าพูดถึงคนที่เป็น ‘หอบหืด’
หลายคนจะนึกถึงคนที่รูปร่างผอมโซ ดูไร้เรี่ยวแรง ดูเหนื่อยหอบตลอดเวลา
เล่นกีฬาไม่ได้ ทำอะไรออกแรงไม่ได้เลย
ในความเป็นจริงแล้ว ความเชื่อนี้ผิดหมดเลยค่ะ
เพราะไม่ว่าจะรูปร่างแบบไหน ผอม หุ่นดี หุ่นล่ำ หรืออวบอ้วนก็เป็นโรคหอบหืดได้ทั้งนั้น
ดังนั้น หลาย ๆ คนที่แปลกใจว่าคนที่ตัวสูงใหญ่ เป็นนักแสดง
นักกีฬาที่ดูแข็งแรงหลาย ๆ คน จริง ๆ แล้วมีโรคหอบเป็นโรคประจำตัว
“คนเป็นหอบออกกำลังกายได้ด้วยหรอ?”
หมอแอนขอตอบเลยค่ะว่าได้แน่นอน
เป็นหอบไม่ได้แปลว่าจะต้องปล่อยให้ร่างกายอ่อนแอ
เพียงแต่ว่า คนที่เป็นโรคหอบ จะต้องใช้ยาที่หมอจัดให้อย่างตรงเวลา
รวมทั้งพกยาติดตัวไว้เผื่อฉุกเฉินด้วย
ถ้าใครคิดว่ายุ่งยาก ลองใช้แอพลิเคชัน Asthma Care
แอปพลิเคชันของทางชมรมผู้ป่วยโรคหืดโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
มีฟังก์ชันในการจับเวลาใช้ยา คำแนะนำ และวิธีใช้ยาสำหรับโรคหืดหอบโดยเฉพาะ
มีให้ดาวน์โหลด “ฟรี” สำหรับ iOS ที่ "https://apps.apple.com/th/app/asthma-care/id1030321073" และ Google Play ที่
"https://play.google.com/store/apps/details?id=com.freewill.fx.appstudio.asthmacare&hl=th"
ปิดท้ายด้วยเคล็ดลับออกกำลังกายสำหรับคนที่เป็นหอบหืดนะคะ
1. เราต้อง “รู้เวลา” ว่าเวลาไหนควร/ไม่ควรออกกำลังกาย
เช่นช่วงเวลาที่ไม่สบาย ติดเชื้อไวรัสหวัด เวลาที่อากาศเย็นจัด ๆ
หรือเวลาที่มีปริมาณเกสร/ละอองดอกไม้ต้นไม้ในอากาศมาก
อย่างเวลาเพิ่งตัดหญ้าเสร็จใหม่ๆ ถ้าฝืนไปวิ่งเล่น/ออกกำลังกาย
ก็เสี่ยงกับอาการหอบหืดกำเริบมากขึ้นค่ะ
2. “ใช้ยา” ประจำตัวของเราให้เรียบร้อย ตรงตามเวลาที่คุณหมอสั่ง
รวมถึงพกยาไว้ใกล้ตัวเผื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
ถ้ามีภาวะหืดกำเริบจากการออกกำลังกาย
ให้สูดยาขยายหลอดลมก่อนออกกำลังกาย 15 นาที
แล้วค่อยออกกำลังกายตามปกติ
3. ออกกำลังกายอย่าง “ค่อยเป็นค่อยไป”
การอบอุ่นร่างกายก่อนออกกำลังกาย 5-10 นาที
จะช่วยคลายกล้ามเนื้อหน้าอกและขยายทางเดินหายใจให้กว้างขึ้น
ทำให้หายใจได้สะดวกขึ้น แล้วค่อยๆเพิ่มระดับในการออกกำลังกายค่ะ
4.เลือกประเภทในการออกกำลังกายให้ “เหมาะสม”
ไม่ควรออกกำลังต่อเนื่องโดยไม่พักเป็นเวลานาน ๆ
โดยเฉพาะคนที่ยังไม่สามารถคุมอาการได้ดี
โดยเลือกออกกำลังกายที่ใช้พลังงานช่วงสั้น ๆ เช่น การเดิน ตีกอล์ฟ ปั่นจักรยาน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
กระดูกทับเส้น......ป้องกันได้!!
กระดูกทับเส้น......ป้องกันได้!! ขอบพระคุณเจ้าของข้อมูล ใครไม่เคยปวดหลังร้าวชาลงขา เดินไม่ได้ ก้มไม่ได้ ต้องไม่เคยลิ้มรสความทรมานจากโรคก...
-
เลือกกินตามสัญญาณไฟ ขอบพระคุณข้อมูล จาก สสส #กินตามสัญญาณไฟ . ปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้ร่างกายแข็งแรง คือ การกิน แต่ถ้าเรามีพฤติก...
-
การดูแลรักษาอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายที่น่าสนใจ ขอบพระคุณเจ้าของภาพ
-
อาการผิดปกติหลังบาดเจ็บที่ศีรษะที่ต้องกลับไปพบแพทย์ . #บาดเจ็บศีรษะ หมายถึง ผู้บาดเจ็บมีลักษณะ ดังต่อไปนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมากกว่า เช...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น