โรคกระดูกสันหลังเสื่อม
ขอบพระคุณเจ้าของข้อมูล
โรคกระดูกสันหลังเสื่อม (Lumbar Spondylosis) เป็นสาเหตุหนึ่งของ
อาการ"ปวดหลังเรื้อรัง" 💢 ความจริงเกี่ยวกับกระดูกสันหลังเสื่อมเป็นอย่างไร
เรามาดูกันค่ะ
ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญฟรี 📱สอบถาม/จองคิว คลิก
👉"http://bit.ly/AriyaWellnessCenter"
หรือ ☎ 02-677-7166 - 7
เมื่อเอ่ยถึงโรคกระดูกสันหลังเสื่อม ส่วนใหญ่คนจะเข้าใจว่าตัวกระดูกเองที่เสื่อม
อันที่จริงความเสื่อมเริ่มเกิดขึ้นจากหมอนรองกระดูกสันหลัง ซึ่งตัวหมอน
รองกระดูกจะมีหน้าที่ช่วยลดแรงกระแทก ทำให้การเคลื่อนไหวของหลังเกิด
ขึ้นได้อย่างคล่องตัว หากกล้ามเนื้อแกนกลางกระดูกสันหลังไม่แข็งแรงพอ ก็
มักทำให้หมอนรองกระดูกต้องถูกกระแทกมาก ยิ่งใช้ร่างกายหนัก ก็ยิ่งทำ
หมอนรองกระดูกเสื่อมได้เร็ว และเมื่อหมอนรองกระดูกเสื่อมแล้ว หากไม่
รักษาหรือดูแลได้ไม่ถูกทาง ความเสื่อมก็เริ่มลุกลามไปที่ข้อต่อ เส้นเอ็น กระดูก
และกล้ามเนื้อ ส่งผลให้หลังขาดความยืดหยุ่น แข็งตัว ทรุด มีแรงเสียดสี เกิด
หินปูนหรือกระดูกงอก (Spur หรือ Osteophyte) ทำให้เกิดการหนาตัว
ของข้อต่อ การหนาตัวของเส้นเอ็นที่ให้ความมั่นคงของกระดูกสันหลัง และทำ
ให้รุนแรงกลายเป็นโพรงประสาทตีบแคบ (Spinal Stenosis) ในที่สุด
ความน่ากลัวของโรคนี้ไม่เพียงแค่มีอาการปวดหลัง ปวดสะโพก หรือปวดร้าว
ลงขาเท่านั้น แต่อาจทำให้กระดูกทรุดทับเส้นประสาท ทำให้ชา ซ่าๆ ตามแนว
ของเส้นประสาท อ่อนแรง อาจทำให้เดินไม่ได้ หรือเป็นอัมพาตได้ หากไม่ได้
รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม
อาการของโรคนี้มักเริ่มต้นจากปวดเมื่อยหลังธรรมดา แล้วรุนแรงเพิ่มมากขึ้น
แต่ไม่ได้รับการรักษาให้ถูกทาง อาจเคยมีประวัติหมอนรองกระดูกปลิ้นหรือ
แคบมาก่อน เคยล้มหรือได้รับอุบัติเหตุ ก้นหรือหลังกระแทก ซึ่งโรคนี้จะถูก
วินิจฉัยว่ากระดูกเสื่อม – โพรงประสาทตีบแคบ ส่วนใหญ่ก็มักรุนแรงค่อนข้าง
มากแล้ว อาการแสดงของโรคนี้มีดังนี้
💢 อาจเริ่มปวดหลัง ปวดร้าวลงสะโพกหรือขา
💢 ปวดตรงบั้นเอวต่อกับสะโพก
💢 ยืนและเดินนานเหมือนขาจะทรุด ไม่มีแรงเดินต่อ เข่าอ่อน
💢 ดีขึ้นเมื่อนั่ง หรือได้นอนพัก
💢 จะเป็นมากขึ้นหรือปวดมากขึ้นทุกครั้ง เมื่อยืนหรือเดินนาน (ขึ้นอยู่กับความ
รุนแรง)
💢 ตื่นนอนมาแล้วรู้สึกปวดหลัง ขยับหลังพลิกลุกลำบาก
💢 ขยับตัว เอี้ยวตัว เปลี่ยนท่ามักรู้สึกเสียวแปล๊บที่หลัง
ฯลฯ
หลังเสื่อมนั้นหากเราใช้ร่างกายหนัก ก็มักเกิดการกดอัดเพิ่มที่หมอนรองกระดูก
โรคนี้อาจพบมากในคนสูงวัย คือพบตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไปก็จริง แต่ปัจจุบัน
ก็พบในวัยทำงาน เด็กวัยรุ่นที่เล่นกีฬาที่มีการกระแทกหนักๆ และบ่อยครั้ง
ซึ่งการเล่นกีฬาหนักๆ หากสภาพร่างกายไม่แข็งแรงหรือไม่ได้ออกกำลังกล้าม
เนื้อส่วนที่เป็นตัวพยุงแกนกลางระดูกสันหลังเลย ก็มักทำให้เป็นโรคหมอน
รองกระดูกเสื่อมก่อนวัยอันควรได้ หรือเคสที่ไม่ออกกำลังกายเลย นั่งนาน เช่น
คนทำงานออฟฟิต ผู้บริหารที่นั่งประชุมทั้งวันโดยไม่ค่อยได้เปลี่ยนอิริยาบถ
เหล่านี้ก็มักทำให้พบว่า ที่สุดก็จะทำให้เสี่ยงต่อกระดูกเสื่อม....
📌 การรักษาโรคนี้หากเริ่มแก้ไขตั้งแต่เนิ่น เช่น เริ่มจัดการตั้งแต่เริ่มรู้สึกปวด
หลัง ไม่ละเลยกับอาการปวด ไม่ละเลยกับเสียงเตือนต่างๆ ของร่างกายที่กำลัง
บอกบางสิ่งอยู่ ก็จะทำให้การรักษาง่ายและหายขาดได้ไม่ยาก แต่หากปล่อย
ไว้นานก็มักต้องทรมาน ปวดมาก กระทบถึงเส้นประสาท ไม่แค่ปวด แต่จะทั้ง
ชาและอ่อนแรง การรักษายาก พัฒนาการของการรักษาก็ช้านาน หรือการ
รักษาก็มักไม่มีทางเลือก นอกจากการผ่าตัดเพียงอย่างเดียว และที่น่ากลัวกว่า
คือ การผ่าตัดก็อาจไม่สามารถแก้ปัญหาโรคนี้ได้ 100%
ดังนั้นเมื่อมีอาการปวดหลังเรื้อรัง ปวดเสียว หรือปวดร้าวลงขา หรือยืนเดิน
นานเหมือนเข่าทรุด ล้าขา ไม่ควรปล่อยไว้ ควรรีบตรวจและพบผู้เชี่ยวชาญ
เฉพาะทาง เพื่อวินิจฉัยและหาแนวทางการรักษา ซึ่งปัจจุบันมีการรักษาที่ไม่
ต้องผ่าตัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรง และความแข็งแรงพื้นฐานของร่างกาย
ของเคส ความก้าวหน้าของการรักษาทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ ด้วยการปรับ
โครงสร้างร่างกาย เป็นการสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางกระดูก
สันหลัง และกล้ามเนื้อที่ช่วยพยุงหลัง การคลายกล้ามเนื้อที่มีการตึงรั้งหรือหด
สั้น สร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อที่อ่อนแรง คลายความตึงตัวของกล้าม
เนื้อที่เป็นทางผ่านของเส้นประสาท พร้อมเรียนรู้การใช้ชีวิตประจำที่ถูกต้อง
เพื่อไม่ให้กระตุ้นอาการของโรคนี้ ฯลฯ การรักษากระดูกสันหลังเสื่อมที่ไม่
ต้องผ่าตัดนี้จะได้ผลดีมากในเคสที่พึ่งเริ่มมีภาวะเสื่อม นั่นหมายความว่า หาก
เราฟังเสียงเตือนของร่างกายตั้งแต่เริ่มแรก เราก็สามารถจัดการกับปัญหา
ความปวดได้เร็วและมีประสิทธิภาพมาก อาการปวดหลังยังไม่หมดเท่านี้นะคะ
ยังมีปวดหลังจากภาวะอื่นๆ อีก แล้วพบกันค่ะ
-----🔆-----✨-----
สถาบันปรับโครงสร้างร่างกาย อริยะ
Website: "www.ariyawellness.com"
Line@ : @ariyawellness
📞 092 326 9636, 📞 02 677 7166 - 7
เปิดทุกวันไม่เว้นวันหยุด
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
กระดูกทับเส้น......ป้องกันได้!!
กระดูกทับเส้น......ป้องกันได้!! ขอบพระคุณเจ้าของข้อมูล ใครไม่เคยปวดหลังร้าวชาลงขา เดินไม่ได้ ก้มไม่ได้ ต้องไม่เคยลิ้มรสความทรมานจากโรคก...
-
เลือกกินตามสัญญาณไฟ ขอบพระคุณข้อมูล จาก สสส #กินตามสัญญาณไฟ . ปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้ร่างกายแข็งแรง คือ การกิน แต่ถ้าเรามีพฤติก...
-
การดูแลรักษาอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายที่น่าสนใจ ขอบพระคุณเจ้าของภาพ
-
อาการผิดปกติหลังบาดเจ็บที่ศีรษะที่ต้องกลับไปพบแพทย์ . #บาดเจ็บศีรษะ หมายถึง ผู้บาดเจ็บมีลักษณะ ดังต่อไปนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมากกว่า เช...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น