จัดบ้านอย่างไร เสี่ยงหกล้ม
.
โดย #กระดูกกระเดี้ยว
ผู้สูงอายุหกล้มในบ้านสูงถึงแสนราย
แนวทางการจัดบ้านเพื่อผู้สูงอายุ
.
เมื่อแก่ตัวลง ก็เป็นธรรมดาที่เราจะเสี่ยงหกล้ม หรือเกิดอุบัติเหตุภายในบ้าน
ได้มากกว่าปกติ ข้อมูลจากสถาบันการ แพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ชี้ว่า
ในปี 2560 สายด่วน 1669 ได้รับแจ้งเหตุ ผู้สูงอายุพลัดตกหกล้มในบ้าน
ประมาณ 1 แสนครั้ง นำไปสู่การเสียชีวิตมากถึง 6,000 ราย ซึ่งสูงเป็นอันดับ
2 ในกลุ่มของการตายจากการบาดเจ็บโดยไม่ตั้งใจ รองจากอุบัติเหตุทางถนน
.
นอกจากคนรอบข้างและตัวผู้สูงอายุเองจะคอยระมัดระวังไม่ให้หกล้มแล้ว
การปรับปรุงที่พักอาศัยให้ปลอดภัย เหมาะกับการใช้งานของผู้สูงอายุ จึงเป็น
ตัวช่วยสำคัญที่จะลดการเกิดอุบัติเหตุได้ดี
.
#กระดูกกระเดี้ยว เข้าใจว่าการปรับปรุงบ้านนั้นมีต้นทุนที่สูง แต่ก็หวังว่าทุก
ท่านจะสามารถนำข้อมูลนี้ไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับงบประมาณและลักษณะ
บ้านปัจจุบันของทุกท่านได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยแก่ผู้สูงอายุผู้เป็น
ที่รักของทุกคนในบ้าน
.
บริเวณที่พักอาศัย
ภายในห้องพักอาศัย: มีพื้นที่ตั้งแต่ 15 ตารางเมตรขึ้นไป และจัดแบ่งพื้นที่
ใช้สอยได้ไม่น้อยกว่า 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่นอน ห้องน้ำ และพื้นที่ใช้ประโช
น์ทั่วไป
บริเวณที่นอน: มีหน้าต่าง มองเห็นวิวทิวทัศน์ภายนอกอาคาร และระบาย
อากาศได้ดี
ของใช้ต่างๆที่จำเป็น: ของที่ต้องใช้งานอยู่เสมอ ควรวางไว้ใกล้ๆ เตียงหรือ
บริเวณหัวเตียง และต้องมีโทรศัพท์ไว้โทรติดต่อ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
.
บริเวณบ้าน
พื้นบ้าน: พื้นภายนอกห้องพักและพื้นภายในห้องพักทุกส่วนมีระดับเสมอกัน
วัสดุปูพื้นไม่ลื่น และไม่มีสิ่งกีดขวาง ไม่มีธรณีประตู
ประตู: ควรเป็นแบบเปิดออกภายนอกหรือแบบบานเลื่อน มีขนาดกว้างไม่ต่ำ
กว่า 90 ซม. (กรณีที่มีรถเข็น) มือจับควรเป็นแบบก้านโยกหรือแกนผลัก
เครื่องใช้ภายในบ้าน: ควรเป็นชนิดที่ไม่มีมุมแหลม หรือที่จะก่อให้เกิด
อันตรายได้ง่าย
.
ห้องน้ำ
พื้นที่: ขนาดไม่ต่ำกว่า 1.5 x 2.0 เมตร
พื้นห้องน้ำ: เป็นจุดเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุเพราะลื่นได้ง่าย ควรต้องมีราวจับ เพิ่ม
ความปลอดภัยได้ดียิ่งขึ้น หาแผ่นยางหรือวัสดุกันลื่นมาปูพื้น พร้อมเก้าอี้นั่ง
สำหรับอาบน้ำเพื่อลดความเสี่ยงที่จะลื่นล้ม
โถส้วม: เป็นชนิดนั่งราบสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 45 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 50
เซนติเมตร มีพนักพิงหลังและมีราวจับบริเวณด้านที่ชิดผนังอย่างน้อย 1 ด้าน
เพื่อช่วยในการพยุงตัว
ก๊อกน้ำและอ่างล้างหน้า: มีราวจับอ่างล้างมือสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 80
เซนติเมตร เพื่อช่วยพยุงตัวขณะยืน ให้อ่างล้างมือด้านที่ติดผนัง จนถึงขอบ
อ่างให้เป็นที่ว่าง เพื่อให้ล้อเก้าอี้สามารถสอดเข้าได้ ก็อกน้ำเป็นชนิดก้านโยก
หรือก้านกด หรือก้านหมุนหรือระบบอัตโนมัติ
บริเวณที่อาบน้ำ: จัดให้มีที่นั่งสำหรับอาบน้ำที่มีความสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 45
เซนติเมตรแต่ไม่เกิน 50 เซนติเมตร มีราวจับในแนวนอนที่ด้านข้างของที่นั่ง
สูงจากพื้น 65 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 70 เซนติเมตร ก็อกน้ำของฝักบัวเป็น
ชนิดก้านโยก หรือก้านกดหรือก้านหมุน หรือระบบอัตโนมัติ
สัญญาณฉุกเฉิน: เนื่องจากห้องน้ำเป็นที่ที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดเหตุฉุกเฉิน
จึงควรติดตั้งสัญญาณฉุกเฉินไว้เช่นกัน
ราวจับ : มีราวจับตั้งแต่ประตูไปจนถึงโถส้วมและบริเวณที่อาบน้ำ
.
ที่มา:
https://www.roadsafetynewstizen.com/2018/11/06/safety-
2018-5/#.W-GDNS7U950.lineme�คู่มือเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ 2561 ราช
วิทยาลัยเวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย www.thaifammed.org
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
กระดูกทับเส้น......ป้องกันได้!!
กระดูกทับเส้น......ป้องกันได้!! ขอบพระคุณเจ้าของข้อมูล ใครไม่เคยปวดหลังร้าวชาลงขา เดินไม่ได้ ก้มไม่ได้ ต้องไม่เคยลิ้มรสความทรมานจากโรคก...
-
เลือกกินตามสัญญาณไฟ ขอบพระคุณข้อมูล จาก สสส #กินตามสัญญาณไฟ . ปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้ร่างกายแข็งแรง คือ การกิน แต่ถ้าเรามีพฤติก...
-
การดูแลรักษาอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายที่น่าสนใจ ขอบพระคุณเจ้าของภาพ
-
อาการผิดปกติหลังบาดเจ็บที่ศีรษะที่ต้องกลับไปพบแพทย์ . #บาดเจ็บศีรษะ หมายถึง ผู้บาดเจ็บมีลักษณะ ดังต่อไปนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมากกว่า เช...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น